เมนูหลัก

 

 

 หน่วยงานของ สวพ.1


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ก่อนจะกล่าวถึงการย้อมหม้อห้อม ขอกล่าวถึงต้นไม้ที่นำมาเป็นสีธรรมชาติเพื่อการย้อมคือต้นห้อมและต้นครามผู้คนส่วนใหญ่อาจมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าห้อมและครามเป็นพืชชนิดเดียวกัน ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องจึงขอกล่าวถึงพืชให้สารสีทั้งสองชนิดนี้ดังนี้

 ต้นห้อม เป็นพืชชนิดหนึ่งสีสามารถนำมาทำให้เป็นสารสีครามสำหรับย้อมผ้าได้ ห้อมเป็นพืชสกุลBaphicacanthus วงศ์ ACANTHACEAE ชนิด cusia Brem มีชื่อเรียกแตกต่างกันแต่ละท้องถิ่นเช่น ทั่วไปเรียก คราม แม่ฮ่องสอนเรียกครามดอย น่านเรียกห้อมเมือง ห้อมหลวง เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ ลำปาง เรียกห้อมน้อย ลักษณะเป็นไม้พุ่ม ลำต้นตั้งตรงมีกิ่งก้านสาขา ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงตรงกันข้ามรูปวงรี ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อยละเอียด ดอกออกเป็นช่อที่ชอกใบมีดอกย้อยหลายดอก กลีบดอกสีม่วงเชื่อมติดกันเป็นหลอดโค้งงอเล็กย้อย ลำต้นสูงประมาณ50-100 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ด้วยลำต้นนำมาปักชำไว้รากจะงอกบริเวณข้อ ห้อมชอบอยู่ในที่ร่มเย็น แดดรำไร มีน้ำซึมตลอดเวลา ใบห้อมสามารถเก็บมาใช้ทำสีน้ำเงินได้ต่อเนื่องเมื่อย่างเข้าปีที่2  ระยะของการเก็บไม่จำกัดแล้วแต่จะออกแขนงช้าหรือเร็ว ถ้าห้อมต้นใหญ่ มีมากจะตัดทั้งกิ่งและใบมาใช้ ถ้าต้นเล็กใช้ใบเป็นหลัก ห้อมบริเวณนี้จะมีอายุถึง8-9 ปี ในจังหวัดแพร่พบที่บ้านแม่ลัว บ้านนาตองซึ่งเป็นพื้นที่มีความชุ่มเย็น บนพื้นที่สูง แต่ยังขาดการจัดการในการปลูกเพื่อผลิตเชิงธุรกิจได้ ต้นครามแหล่งสีครามธรรมชาติ เป็นพืชสกุล Indigofera วงศ์ PAPILIONACEAE ชนิด tinctoria Linn. มีชื่อเรียกทั่วไปว่า“คราม” และเรียกแตกต่างแต่ละถิ่น เช่นกระเหรี่ยงแม่ฮ่องสอนเรียก นอยอ นะยอ เชียงใหม่เรียกครามดอย (elliptica Roxb)ครามเขา ครามขน(hirsute Linn, local Craib) ครามป่า(sootepensis Craib) ลักษณะทั่วไปเป็นพืชตระกูลถั่วขนาดย่อม ลำต้นสูงประมาณ100-160 เซนติเมตร แตกกิ่งก้านสาขาเป็นพุ่ม ใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ปลายใบเดี่ยว ใบย่อยรูปรี ดอกช่อ ออกตามซอกใบ ดอกย่อยรูปดอกถั่ว กลีบดอกสีชมพู ผลเป็นผัก มีทั้งฝักตรงและฝักโค้ง ภายในฝักมี 7-12 เมล็ด รากเป็นระบบรากแก้ว ลำต้นประกอบด้วยข้อและปล้อง มีตาและตาดอกเกิดขึ้นบริเวณข้อ แล้วเกิดเป็นช่อดอกในภายหลัง แต่ละดอกประกอบด้วยกลีบดอก 4 กลีบ เกสรตัวผู้ 10 อัน เกสรตัวเมีย 1 อัน เมล็ดของครามมีลักษณะเหลี่ยมค่อนข้างกลม ขนาดเล็ก ใช้ใบและก้านใบของครามอายุ 3 เดือนจะให้ปริมาณสีครามมากที่สุด ครามขึ้นได้ดีในที่มีแสงแดดส่องถึง ซึ่งจะปลูกในเดือนพฤษภาคม ถึง มิถุนายน และสามารถเก็บไปทำน้ำครามได้ราวเดือน พฤศจิกายนแหล่งครามที่ใหญ่อยู่ในภาคอีสาน ในอำเภออากาศอำนวย จังหวัดสกลนครที่ทำสารย้อมสีครามจำหน่ายทั่วประเทศและอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตรซึ่งเป็นชุมชนลาวครั่ง ส่วนที่บ้านทุ่งโฮ้งปลูกได้แต่ไม่เพียงพอนำมาใช้ย้อมผ้า ต้องนำเข้ามากจากจังหวัดสกลนครในรูปของครามเปียก

                            

                              

 

 

มะขามป้อม (Indiangooseberry)เป็นต้นไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งอยู่ในวงศ์ EUPHORBIACEAE เป็นผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และมีคุณค่าทางสมุนไพรด้วย มะขามป้อมเป็นต้นไม้ประจำจังหวัดสระแก้ว มีชื่อพื้นเมืองอื่นอีกคือ กันโตด (เขมร - กาญจนบุรี) กำทวด (ราชบุรี) มะขามป้อม (ทั่วไป) มั่งลู่, สันยาส่า (กะเหรี่ยง - แม่ฮ่องสอน)

เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก-กลาง สูง 8-12 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกนอกสีน้ำตาลอบเทา ผิวเรียบหรือค่อนข้างเรียบ เปลือกในสีชมพูสด ใบเดี่ยว มีลักษณะคล้ายใบประกอบคล้ายใบมะขาม รูปขอบขนานติดเรียงสลับ กว้าง 0.25-0.5 ซม.ยาว 0.8-12 ซม. สีเขียวอ่อนเรียงชิดกัน ใบสั้นมาก เส้นแขนงใบไม่ชัดเจน

ดอกขนาดเล็กแยกเพศ แต่อยู่บนกิ่งหรือต้นเดียวกัน ออกตามง่ามใบ 3-5 ดอกแน่น ตามปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 6 กลีบ ดอกสีขาวหรือขาวนวล ผลทรงกลมมีเนื้อหนา 1.2-2 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อน ผลแก่มีเขียวอ่อนค่อนข้างใส มีเส้นริ้วๆ ตามยาว สังเกตได้ 6 เส้น เนื้อผลรับประทานได้มีรสฝาดเปรี้ยว ขมและอมหวาน เปลือกหุ้มเมล็ดแข็งมี 6 เส้น เมล็ดมี 6 เมล็ด

                             

                               

 

 

หงส์เหิน (Globba  winiti)  เป็นไม้พื้นเมืองของไทยที่เกิดในป่าร้อนชื้น  ภายใต้ร่มเงาไม้ใหญ่  หรือขึ้นอยู่ตามชายป่า    ซึ่งในป่าเมืองไทยมีพืชสกุล Globba ขึ้นกระจายอยู่ทุกภาค อาจมีมากถึง 40 ชนิด จากการสำรวจพบว่า แถบภาคเหนือและภาคกลาง มีความหลากหลายของพันธุ์สูงกว่าภาคอื่นๆ  แต่ยังไม่มีการศึกษาทบทวนด้านอนุกรมวิธาน  สำหรับพื้นที่บริเวณภาคเหนือรายงานว่าพบ Globba  3 ช นิด  คือ G.nuda,  G.purpurascens  และG.reflexa  บริเวณป่าทิศตะวันออกดอยสุเทพ  นอกจากนี้  พบ G. reflexa  หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า  "ดอกคำน้อย"   ขึ้นตามทุ่งหญ้าที่ค่อนข้างชุ่มชื้น ในภาคเหนือ    ตั้งแต่ระดับความสูง 700 - 1,000 เมตร    สำหรับ G.nuda    พบในป่าผลัดใบ  สำหรับ G.pupurascens.  นี้จะสร้างหัวเล็กๆ (bulbil) ที่โคนกลีบเลี้ยงและราก  จะงอกในขณะที่อยู่บนช่อ  เมื่อหัวเล็กๆ นั้นโตเต็มที่ยังสำรวจพบ  G.clarkel, G.obscura, G.platystachya.  G.purpur-ascens  และ G.reflexa  ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์อีกด้วย สำหรับ G.winitil   หรือหงส์เหิน เป็นพันธุ์ที่มีกลีบประดับขนาดใหญ่สีม่วงเข้มและยังมีพันธุ์ที่มีกลีบประดับสีขาว  ซึ่งได้มีการนำไปปลูกประดับแพร่หลายไปทั่วโลกแล้วลักษณะทางพฤกษศาสตร์

หงส์เหินเป็นพืชที่อยู่ในวงศ์  Zingiberaceae  และอยู่ใน Genus Globba

 


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ คือ
ต้น  :  หงส์เหินเป็นพืชที่มีลำต้นเป็นหัวใต้ดิน  ประเภทเหง้าแบบ Rhizome  มีรากสะสมอาหารลักษณะอวบน้ำคล้ายรากกระชาย  เรียงอยู่โดยรอบหัว  และส่วนของลำต้นเหนือดิน  คือ  กาบใบที่เรียงตัวกันแน่น  ทำหน้าที่เป็นต้นเทียมเหนือดิน มักเกิดเป็นกลุ่มกอ  สูงประมาณ 30-70 ซม.

ใบ  :  เป็นใบเดี่ยวลักษณะเรียวยาว รูปใบหอกคล้ายใบกระชาย  แต่มีขนาดเล็กกว่าออกเรียงสลับซ้ายขวาเป็นสองแถวในระนาบเดียวกัน  ขนาดของใบกว้างประมาณ 10 x 25 ซม.

ดอก :  ดอกออกเป็นช่อซึ่งแทงออกมาจากยอดของลำต้นเทียม  ช่อจะโค้ง  และห้อยตัวลงอย่างอ่อนช้อยสวยงาม     มีก้านดอกย่อยเรียงอยู่โดยรอบ  ประกอบด้วยดอกจริง 1-3 ดอก   สีเหลือง   สดใสแต่จะมีกลีบประดับ (bract)    ที่แตกต่างกันหลายรูปทรง  และหลายสีจาก globba   ที่รวบรวมไว้มี 2 ชนิด คือ G.winitil และ g.schomburgkil ซึ่งจะมีลักษณะของช่อดอกและกลีบประดับแตกต่างกันคือ

G.winitil : จะมีกลีบประดับขนาดใหญ่เรียงตัวกันอย่างเป็นระเบียบสวยงามตามช่อ โดยรอบจากโคนถึงปลาย  สีของกลีบประดับที่พบมีหลายสี
ได้แก่  สีขาว สีม่วง สีเขียว  และสีแดง  มีก้านดอกย่อยยาวชูดอกออกมาเห็นชัดเจน   ดอกจริงมีสีเหลืองลักษณะคล้ายรูปตัวหงส์ยืน  กำลังจะเหินบิน    มีลีลา
สง่างามทำให้ช่อดอกมีสีสันสวยงามมากขึ้น  ช่อดอกยาวประมาณ 10 - 20 ซม.

G.schomburgkil : จะมีใบประดับสีเขียวอ่อนไม่สะดุดตาแต่ให้ช่อดอกที่มีดอกจริงสีเหลืองสดใส จะเรียงตัวถี่ ลักษณะพิเศษของ Globba
ประเภทนี้ คือ ช่อดอกมักมีหัวเล็กๆ  ลักษณะคล้ายเมล็ดมะละกอสีเขียวอยู่ที่โคนกลีบเลี้ยง   และจะงอกราก ในขณะที่อยู่บนช่อเมื่อหัวเล็กๆ  นั้นโตเต็มที่  ซึ่ง
สามารถนำไปขยายพันธุ์เป็นต้นใหม่ได้  หงส์เหิน เป็นพันธุ์ไม้ที่เจริญเติบโตและออกดอกในช่วงฤดูฝน จากนั้นจะพักตัวในช่วงฤดูหนาวจนถึงฤดูร้อน ซึ่งต้น
เหนือดินจะยุบแห้งไปเหลือไว้เพียงหัวที่ฝังตัวอยู่ใต้ดิน  และจะงอกใหม่ในช่วงฤดูฝนต่อไป


การขยายพันธุ์ 
    การขยายพันธุ์หงส์เหิน สามารถทำได้ทั้งการแยกเหง้า และการเพาะเมล็ด แต่วิธีที่สะดวกรวดเร็ว และได้ผลดีคือ การแยกเหง้า  โดยการขุดเหง้าหรือหัวใต้ดินในระยะพักตัวคือ  ช่วงฤดูแล้ง   หลังจากต้นเหนือดินได้ยุบไปแล้ว    นำมาปลิดแยกเป็นหัวๆ ลงปลูกในแปลงโดยฝักลึก 5 ซม.    ใช้ระยะปลูก20 x 30ซม.   หงส์เหินไม่เหมาะกับการขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ   เพราะหน่อที่แยกมาปลูกจะชะงักการเจริญเติบโตไม่สามารถแตกกอให้ดอกได้


 การดูแลรักษา 
หงส์เหินเป็นพืชที่ต้องการร่มรำไรแปลงปลูกกลางแจ้ง    ควรพรางแสงไม่น้อยกว่า 50%  แปลงปลูกควรคลุมด้วยฟางหรือหญ้าแห้ง   เพื่อรักษาความชื้นและความสะอาดสดใสของดอก

1. การใส่ปุ๋ย   ควรใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอก อัตรา1 ตันต่อไร่  และปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 50 กก./ไร่
    หว่านให้ทั่วแปลงช่วงแตกใบอ่อนปีละครั้ง
2. การให้น้ำ   หงส์เหินเป็นพืชที่ต้องการความชุ่มชื้น แต่ไม่แฉะ ถ้าอากาศแล้ง
    ควรให้น้ำอย่างน้อยวันละครั้งในช่วงเช้า
3. การตัดแต่ง  ในแปลงปลูกจากปีที่ 2 เป็นต้นไป  ประชากรในแปลงอาจมีความหนาแน่นทำให้เกิด
    โรคระบาด  ดอกมีขนาดเล็กไม่สมบูรณ์ ควรมีการตัดแต่งให้แปลงโปร่ง โดยตัดต้นไม่สมบูรณ์หรือตัดใบทิ้งบ้าง

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  5,742
Today:  10
PageView/Month:  48

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com